September 28, 2010

บาค (The Bach) - ตระกูลยอดนักดนตรี

.๒.๓.


ภาพที่ ๑ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach, ๑๖๘๕-๑๗๕๐)
ภาพที่ ๒ คาร์ล ฟิลิปป์ เอมมานูเอล บาค (Carl Philipp Emanual Bach, ๑๗๑๔-๑๗๘๘)
ภาพที่ ๓ โยฮันน์ คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach, ๑๗๓๕-๑๗๘๒)


         "บาค" เป็นนามของตระกูลนักดนตรีชาวเยอรมัน นับแต่คริสตศตวรรษที่ ๑๖ ถึง ๑๙ ตระกูลบาคเชื้อสายแซ็กซอน (Saxon) และ ธูริงเกียน (Thuringian) ได้ให้กำเนิดนักดนตรีเป็นจำนวนมากมายเหลือที่จะนับและมีจำนวนมากกว่าตระกูลอื่น ๆ ในยุโรปทั้งหมด นักดนตรีในตระกูลนี้มีความหลากหลายในสายงานนับแต่คนซอ (fiddler) นักดนตรีประจำเมืองไปจนถึง นักออร์แกน ผู้นำนักร้อง (Kantor) นักดนตรีในวังจนถึงผู้อำนวยการดนตรี (Kapellmeister) ในคนจำนวนมากมายเหล่านี้ผู้ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) กระนั้นยังมีนักดนตรีท่านอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่เช่นกันในตระกูลนี้ทั้งในยุคก่อนหน้า ยุคเดียวกันและในยุคหลังจากบาคท่านนี้อีกมาก

         ในบทความต่อจากนี้ผมจะเริ่มเรื่องของตระกูลอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกด้วยรายนามของสมาชิกตระกูลบาคเรียงตามอักขระภาษาอังกฤษ โดยที่จะมีประวัติโดยย่อของท่านที่มิได้กล่าวถึงโดยลำพัง จากนั้นจะต่อเนื่องไปยังประวัติโดยสังเขปของตระกูล แล้วจึงจะกล่าวโดยละเอียดถึงประวัติของสมาชิกคนสำคัญในตระกูลนี้ โดยเรียงตามลำดับเวลา ตัวเลขอารบิคเอียงที่ 1-53 ที่ใส่เอาไว้ท้ายของชื่อนั้นเป็นตัวเลขที่ เจ เอส บาค ได้รวบรวมขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1735 ในหนังสือที่ชื่อ Ursrpung der musicalisch-Bachischen Familie โดยเรียงลำดับตามสาแหรกของตระกูล หมายเลขตั้งแต่ 54 ขึ้นไปก็เรียงลำดับในหลักการเดียวกัน ส่วนตัวเลขไทยที่นำหน้าชื่อนั้นเป็นการเรียงลำดับตามรายชื่อในบทความส่วนที่สาม (ประวัติของสมาชิกคนสำคัญ) สมาชิกที่มิใช่นักดนตรีจะไม่ถูกกล่าวถึงในบทความนี้ แต่นักดนตรีตระกูลนี้นอกสายตระกูลหลัก "เวคมาร์" (Wechmar)  จะถูกกล่าวถึงด้วย

         นอกเหนือจากการอ่านรายนามในบทความนี้แล้ว ท่านที่สนใจสามารถตามรายละเอียดอื่นในเรื่องของตระกูลนี้ได้ต่อไปในลิงก์ต่อไปนี้
นี่คือเวบไซต์ที่มุ่งเน้นไปที่เรื่องของเพลงร้องของ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาคเป็นหลัก มีกระดานสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงร้องโดยเฉพาะ"แคนทาทา" จำนวนมากมายของท่าน และยังมีส่วนของความรู้ในเรื่องทางพิธีกรรมทางศาสนาคริสนิกายลูเธอรันอีกด้วย
เวบนี้เป็นสดมภ์หลักของโน้ตเพลงที่ผมแนะนำให้นักศึกษาดนตรีมานาน เคยถูกปิดเพราะเรื่องลิขสิทธิ์เพลงของ บาทอค (Bela Bartok) ไปเมื่อหลายปีที่แล้วแต่ก็กลับมาได้อย่างสง่างามและมีคุณูปการแก่วงการดนตรีโลกเป็นอย่างยิ่ง


ข้อมูลในบทความนี้ส่วนใหญ่จะถอดความจาก The New Grove Dictionary of Music and Musicians โดยที่ควรยกความดีความชอบให้แก่ Christoph Wolff, Walter Emery, Peter Wollny, Ulrich Leisinger และ Stephen Roe ในบทความครั้งต่อ ๆ ไปอาจจะมีข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งอื่นบ้างซึ่งจะอ้างถึงแหล่งดังกล่าวนั้น ๆ เป็นคราว ๆ ไป และบทความนี้มีจุดประสงค์ในการจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาเท่านั้น
บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ

September 17, 2010

Dartmouth Contemporary Music Lab: Pendulum Music by Steve Reich



The concept of this piece is so cool. Reich used feedback sound from speakers as material to do his phase/repeat process and from growth out of the process itself, very minimal, very economic.....what about sound? listen to it yourself.